แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

-- แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แบบจําลองอะตอมรัทเทอร์ฟอร์ด


      ในปีพ.ศ. 2453 ลอร์ดเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Lord Ernest Rutherford) ได้ศึกษาแบบจำลองอะตอมของทอมสัน และเกิดความสงสัยว่าอะตอมจะมีโครงสร้างตามแบบจาลองของทอมสันจริง หรือไม่ โดยตั้งสมมติฐานว่า ถ้าอะตอมมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริง ดังนั้นเมื่อยิงอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเข้าไปในอะตอม แอลฟาทุกอนุภาคจะทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดเนื่องจากอะตอมมีความหนาแน่น สม่ำเสมอเหมือนกันหมดทั้งอะตอม
     เพื่อพิสูจน์สมมติฐานนี้รัทเทอร์ฟอร์ดได้ ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่น ทองคำบางๆโดยมีความหนาไม่เกิน 10 ยกกำลัง – 4 cm โดยมีฉากสารเรืองแสงรองรับ


จากการทดลองพบว่า
- อนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่วิ่งเป็นแนวเส้นตรงทะลุแผ่นทองคำบาง ๆ
- อนุภาคแอลฟาบางส่วนวิ่งเบี่ยงเบนไปจากแนวเส้นตรง
- อนุภาคแอลฟาส่วนน้อยสะท้อนกลับ



"อะตอมจะประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมตัวกันอยู่อย่างหนาแน่นอยู่ตรงกลางนิวเคลียสมีขนาดเล็กมากมีมวลมากและมีประจุบวกส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุเป็นลบและมีมวลน้อยมาก           จะวิ่งรอบนิวเคลียสเป็นวงกว้าง"
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แบบจําลองอะตอมรัทเทอร์ฟอร์ด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น